หน้าแรก ชายหาด สถานที่ท่องเที่ยว สถานบันเทิง กอล์ฟ สภาพอากาศ แผนที่
หน้าแรก

ชายหาด

สถานที่ท่องเที่ยว

สถานบันเทิง

กอล์ฟ

สภาพอากาศ

แผนที่ท่องเที่ยว

โรงแรม บ้านให้เช่า คอนโดให้เช่า ขายบ้าน ขายคอนโด การขนส่ง ประวัติหัวหินและข้อมูล
โรงแรม บ้านให้เช่า คอนโดให้เช่า ขายบ้าน ขายคอนโด การขนส่ง ข้อมูลเกี่ยวกับหัวหิน

อุทยานราชภักดิ์

อุทยานราชภักดิ์ ความยิ่งใหญ่ของวีระกษัตริย์ไทย 7 พระองค์


สถานที่ท่องเที่ยวปแห่งใหม่ในอำเภอเมืองหัวหิน



อุทยานราชภักดิ์ สถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ที่น่าแวะไปชื่นชมความยิ่งของวีระกษัตริย์ไทย 7 พระองค์

เป็นสถานที่เป็นการนำพระมหากษัตริย์ที่เป็นผู้ที่ทำให้ปพระเทศไทยทรงเป็นประเทศไทย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้กองทัพบกจัดสร้าง
“พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบูรพกษัตริย์แห่งสยาม” พร้อมจัดสร้างอุทยานประวัติศาสตร์ โดยพระราชทานชื่อให้ว่า “อุทยานราชภักดิ์”
ซึ่งเป็นอุทยานที่สร้างขึ้นด้วยความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และเพื่อเป็นการเทิดทูนและประกาศเกียรติคุณสมเด็จพระมหากษัตริย์แห่งสยาม 7 พระองค์ ได้แก่

อุทยานราชภักดิ์

1.พ่อขุนรามคำแหง (สมัยกรุงสุโขทัย)
2.สมเด็จพระนเรศวร (สมัยกรุงศรีอยุธยา)
3.สมเด็จพระนารายณ์ (สมัยกรุงศรีอยุธยา)
4.สมเด็จพระเจ้าตากสิน (สมัยกรุงธนบุรี)
5.พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)
6.พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)
7.พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)
ทุกพระองค์ล้วนทรงสร้างคุณูปการที่ยิ่งใหญ่ต่อประเทศชาติ

อุทยานราชภักดิ์


พื้นที่ทั้งหมดที่ทำการสร้างอุทยานราชภักดิ์
กองทัพบก จะดำเนินการจัดสร้าง อุทยานราชภักดิ์ ภายในพื้นที่ของกองทัพบก อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
โดยใช้พื้นที่ก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 222 ไร่เศษ องค์ประกอบภาพรวมของอุทยานราชภักดิ์ จะมีโครงสร้างหลักที่สำคัญ
จำนวน 3 ส่วนหลัก ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 : พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบูรพกษัตริย์ แห่งสยาม จำนวน 7 พระองค์
โดยน้อมถวายพระเกียรติแด่พระมหากษัตริย์แต่ละยุคสมัยตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์
ชึ่งพระนามแต่ละพระองค์เป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ได้แก่ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้พื้นที่ประมาณ 5 ไร่
โดยรูปแบบของพระบรมราชานุสาวรีย์ จะจัดสร้างในลักษณะพระอิริยาบถทรงยืน ความสูงเฉลี่ยไม่เกิน 13.9 เมตร หล่อด้วยโลหะสำริดนอก

อุทยานราชภักดิ์

ส่วนที่ 2 : ลานอเนกประสงค์ มีเนื้อที่ประมาณ 91 ไร่ ใช้สำหรับกระทำพิธีที่สำคัญของกองทัพ และรับรองบุคคลสำคัญจากต่างประเทศ

อุทยานราชภักดิ์

ส่วนที่ 3 : อาคารพิพิธภัณฑ์ หรือห้องจัดแสดงนิทรรศการประวัติศาสตร์ โดยการค้นคว้า รวบรวม และจัดทำพระราชประวัติ
และพระราชกรณียกิจที่สำคัญของบูรพกษัตริย์ไทย ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
โดยจะดำเนินการจัดสร้างบริเวณด้านล่างของฐานพระบรมราชานุสาวรีย์

อุทยานราชภักดิ์

1. การจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบูรพกษัตริย์แห่งสยาม จำนวน 7 พระองค์ และการก่อสร้างลานอเนกประสงค์
ตั้งแต่เดือน พ.ย.57-ส.ค.58 รวมระยะเวลา 10 เดือน
2. การจัดทำนิทรรศการแสดงพระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระบูรพกษัตริย์ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ภายในห้องพิพิธภัณฑ์ โดยเริ่มตั้งแต่เดือน ก.ย.58 หรือภายหลังจากการก่อสร้างฐานและพระบรมราชานุสาวรีย์เสร็จเรียบร้อย

อุทยานราชภักดิ์

เวลาเปิด-ปิด อุทยานราชภักดิ์
นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปเที่ยวชมยังพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบูรพกษัตริย์ได้แล้ว โดยจะเปิดให้เข้าชมทุกวัน
ตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น. เข้าชมฟรี ! แต่ในส่วนของลานอเนกประสงค์และอาคารพิพิธภัณฑ์ยังอยู่ในระหว่างการจัดสร้าง

อุทยานราชภักดิ์

วิธีการเดินทางไปแสดงความเคารพ สักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระมหากษัตริย์ 7 พระองค์ ณ อุทยานราชภักดิ์ไม่ยากเลย มีให้เลือก 2 เส้นทาง
เส้นทางที่ 1)….คือทางที่ตรงที่สุดแต่ถ้าเป็นวันเสาร์ อาทิตย์ รถจะเยอะ และติดนิดหนึ่งบริเวณตัวเมืองหัวหิน คือเส้นเพชรเกษมทางที่ไปชะอำครับ
ถ้าไปจากกรุงเทพ หรือภาคกลาง หรือมาจากใต้ก็ทางไปหัวหินเส้นในครับ อธิบายง่ายๆมาจากกรุงเทพฯ เส้นเพชรเกษม ผ่านชะอำ
ผ่านตัวเมืองหัวหิน (จากตัวเมืองหัวหินไปอุทยานราชภักดิ์ตรงข้ามสวนสนประติพัทธ์ประมาณ 5 กิโลเมตร) ตรงไปเรื่อยๆ จนถึงสะพานยกระดับก็ชิดขวา
(ถ้าตรงไปเขาตะเกียบ) ขึ้นสะพานตามถนนไปเรื่อยๆ อีก 3 กิโลก็ถึงยู่ตรงข้าม สวนสนประติพัทธ์ด้านซ้าย อุทยานราชภักดิ์อยู่ฝั่งขวา
อยู่ติดกับโรงเรียนนายสิบทหารบก มองเข้าไปจากตรงนั้น ริมถนนเพชรเกษมก็เห็นเลย

อุทยานราชภักดิ์

เส้นทางที่ 2)…. ก็มาจากกรุงเทพ เส้นเพชรเกษม ตรงไปเลี่ยงเมืองไม่เข้าชะอำ และหัวหิน ตรงไปเรื่อยๆ ผ่านแยกวัดห้วยมงคล
ไปจนตัดกับถนน เพชรเกษมที่มาจากหัวหินก็เลี้ยวซ้ายวกกลับเข้าเมืองหัวหิน ถึงสวนสนประติพัทธ์ก็เห็นแล้วจะอยู่ตรงกันข้ามกัน
ถ้ามาทางนี้อุทยานราชภักดิ์อยู่ทางซ้ายมือ อ้อมนิดหนึ่งครับแต่อาจเร็วกว่าถ้ามาช่วงเสาร์อาทิตย์หรือช่วงวันหยุดเทศกาลหัวหินรถจะติดมาก
***ถ้าไม่มีรถส่วนตัว ขึ้นรถตู้จากอนุสาวรีย์ได้ สายที่ไปปราณบุรี หรือประจวบ ผ่านหัวหินบอกคนขับลงอุทยานราชภักดิ์รถทุกคันรู้จักเดินต่อเข้าไปได้ไม่ไกล
***นั่งรถไฟมาลงที่ สถานีสวนสนประติพัทธ์ อาจเดินไม่ไหวนะไกลนิดหนึ่ง

Google Mapsตลาดน้ำสามพันนามอำเภอหัวหิน  
>> ไปทอุทยานราชภักดิ์ Maps >>
     
อุทยานราชภักดิ์  
<< ย้อนกลับไปหน้าหลัก <<

ทำไมคุณรู้จักและชอบหัวหิน


↑ กลับไปด้านบน ↑


Language:
English   Deutsche
 
  facebook
Hua-Hin.info
 
เกี่ยวกับเรา/ลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย