![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
||
หน้าแรก |
ชายหาด |
สถานที่ท่องเที่ยว |
สถานบันเทิง |
กอล์ฟ |
สภาพอากาศ |
แผนที่ท่องเที่ยว |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
||
โรงแรม | บ้านให้เช่า | คอนโดให้เช่า | ขายบ้าน | ขายคอนโด | การขนส่ง | ข้อมูลเกี่ยวกับหัวหิน |
วัดใหญ่สุวรรณารามวัดใหญ่สุวรรณาราม เดิมชื่อว่า วัดน้อยปักษ์ใต้วัดใหญ่สุวรรณนาราม หรือเรียกกันทั่วไปว่า "วัดใหญ่" เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหาร เดิมชื่อว่า "วัดน้อยปักษ์ใต้" สันนิศฐานว่าเป็นวัดที่มีมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ดังจะเห็นได้จากหลักบานที่มีตาม พระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่ง กรุงรัตนโกสินทร์ ที่ทรงไว้ว่า "ภาพแลพลายในพระอุโยสถแห่งนี้คงเขียนมาก่อน300 ปีขึ้นไป"(นับถึงปัจจุบันคงต้องเป็น 400 ปี) สำหรับชื่อวัดนั้นที่ชื่อว่า "วัดใหญ่" เข้าใจว่าเพราะมีเนื้อที่ถคง 20 ไร่เศษ ส่วนคำว่า "สุวรรณ" นั้นน่าจะได้มาจากพระนามของสมเด็จพระสังฆราช(แตงโมง) ซึ่งเดิมท่านชื่อ ทอง หรือจะเป็นนามฉายาของท่านว่า สุวณณ ด้วยก็ได้ เพราะท่านได้มาปฏิสังขรณ์ครั้งสำคัญให้วัดนี้ อันเป็นสถานมูลสึกษาเดิมของท่าน วัดนี้จึงมีชื่ว่า วัดใหญ่สุวรรณวนาราม แต่นั้นสืบมา ![]() วัดเก่าแก่และสำคัญมากของจังหวัดเพชรบุรี สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นแหล่งรวมฝีมืองานช่างที่ปราณีต อ่อนช้อยและงดงาม ของชาวเพชรบุรีไว้มากมาย โดยเฉพาะภาพ จิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์ เป็นภาพเทพชุมนุมศิลปะอยุธยา ฝีมือช่างเมืองเพชร ด้วยความงดงามและความเก่าแก่ ของทำให้วัดใหญ่สุวรรณรามเคยใช้เป็นฉากในภาพยนตร์เรื่อง สุริโยทัยรวมถึงละครเรื่องบ่วง และขุนศึกอีกด้วย ![]() ศาลาการเปรียญ ตามตำนานหลักบานเดิมกล่าวว่า สมเด็จพระเจ้าเสือได้พระราชทานท้องพระโรงหลังหนึ่ง เพื่อช่วยเหลือพระอาจารย์์ คือสมเด็จพระสังฆราช (แตงโมง) มาทำศาลาการเปรียญเมื่อคราวบูรณะวัดใหญ่สุวรรณาราม เป็นสาลาการเปรียญทรงไทย สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง ด้านทิศตะวันตกมีมุขประเจิด หลังค่ามุงด้วยกระเบื้องกาบู (กาบกล้วย) ประดับช่อฟ้าใบระกาติดกระจกสีสวยงาม เป็นศาลาขนาดใหญ่มีเสาแปดเหลี่ยม ที่เขียนลายรดน้ำ เหมือนกันเป็นคู่ๆ ทุกคู่ลายไม่ซ้ำกัน ส่วนภายนอกเดิมฝาผนังเขียนเป็นลายทองทั้งหลัง และยังมีคันทวยหน้าตั๊กแตนสวยงามมาก พร้อมกระจังพรึงที่ใหญ่ที่สุดในประเปศ ![]() ![]() บ้านประตูสาลาการเปรียญ เป็นบานประตูประวัติศาสตร์ ซึ่งมีชื่อเสียงมากและมีความ งดงามเป็นเลิศ ได้แก่ บานประตูกลางซึ่งอยู่ด้านหน้าของสาลาการเปรียญ ทางทิสตะวันออกทำด้วยไม้สัก จำหลักลวดลายกระหนกก้านขด 2 ชั้นปิดทองประดับกระจก กรอบเช็ดหน้าบบานประตูทำไว้สวยงาม จึงมีผู้นำเป็นต้นแบบไปสร้างเป็นซุ้มประตูและซุ้มเรือนแก้วพระพุทธรูป ตอนบนด้านซ้ายมีรอยแตก เล่าว่าเคยพูกพม่าฟันมาแล้ว ดังปรากฏเป็นหลักฐานจนทุกวันนี้ ![]() ![]() ธรรมาสน์ภายในศาลาการเปรียญมีธรรมาสน์ฝีมืองดงามอยู่ 2 หลังที่น่าสนใจคือ หลังเก่ามีมาพร้อมกับสาลาการเปรียญ ลักษณะเป็นไม้จำหลัก ทรงบุษบก รัชหาลที่ 5 ทางชมเชยว่างามนัก ![]() ![]() เสาแปดเหลี่ยมเขียนลายรดน้ำภายในสาลาการเปรียญ ![]() หอไตร หอไตรมีอนู่ 2 หลัง หลังเก่าอยู่กลางสระน้ำรูปทรงแยยเรือนไทยโบราณชั้นเดียว 2 ห้อง แต่มี 3 เสา มีสระพานทอดจากริมขอบสระไปยังหอไตร หอไตรหลังใหม่เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น มีระเบียงเดินได้รอบ หลังค่วอน 2 ชั้ร ประดับช่อฟ้าใบระกา และหางหงส์ หน้าบันประกอบรูปลายก้านขดและเทพนมอยู่แต่ละด้าน เป็นของที่สร้างขึ้นมาใหม่ มีอายุราว 82 ปี ![]() พระอุโบสถมีพระระเบียงคดล้อมรอบ ลักษณะเป้นสถาปัตยกรรมทรงไทย สมัยอยุธยาก่ออิฐ ถือปูน มีหน่้าบันแประดับด้วยกระจกสีประกอยด้วย ลวดลวยปูนปั้นสวยงามมากที่ผนังด้านในมีภาพจิตรกรรม เทพชุมนุม 5 ชั้ร ที่มีความงดงามและทรงคุณค่าทางสิลปะ ที่มีความงดลาม และคุรค่าทางศิลปะ ที่มีลักษณะเด่นเป็นพิเศษ ![]() พระอุโบสถ ก่ออิฐถือปูนที่มีฐานปัทม์อ่อนโค้งแบบฐานสำเภา มีระเบียงคดล้อมรอบเป็นสถาปัตยกรรมทรงไทยสมัยอยุธยา หน้าบันเป็น งานรูปปั้นสมัยอยุธยาตอนปลายที่งามพลิ้วราวมีชีวิต ภายในพระอุโบสถมีภาพทวารบาล ภาพพุทธประวัติ จิตรกรรมภาพเทพชุมนุม เรียงรายกัน 5 ชั้นมีอายุกว่า 400 ปี เสาและเพดานมีการตกแต่งด้วยลายทองบนพื้นแดงอย่างวิจิตร พระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย พุทธลักษณะสมส่วนสวยงาม ที่ฐานพระตกแต่งลวดลายปูนปั้นและปิดทองประดับกระจกสีสวยงามมาก มีพระพุทธรูปที่งดงาม อีกหลายองค์ประดิษฐานบนฐานชั้นล่าง ได้แก่ พระคันธารราษฎร์ ![]() พระพุทธรูปเก่าแก่ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่รัชกาลที่ 5 ทรงอัญเชิญมา ประดิษฐานในโบสถ์แห่งนี้ และมีรูปหล่อของสมเด็จพระสังฆราชแตงโมประดิษฐานอยู่หน้าพระประธาน ด้านหลังพระประธาน เป็นพระพุทธรูปที่มีนิ้วพระบาท ๖ นิ้ว เรียกกันว่า "พระหกนิ้ว" นับเป็นเรื่องแปลกที่เล่าสืบ กันมาว่าพระพุทธรูปองค์นี้ช่างตั้งใจที่จะ สร้างให้มี ๖ นิ้ว (มองเห็นเฉพาะพระบาทขวา ส่วนพระบาทซ้ายเป็นท่าขัดสมาธิอยู่ใต้พระชานุ) อันเนื่องมาจากพระพุทธรูปในวัดเขายี่สาร มีนิ้วพระบาทรวมกันได้ ๙ นิ้ว เมื่อมีการสร้างพระพุทธรูปที่วัดใหญ่สุวรรณาราม ช่างจึงได้สร้างให้มีนิ้วพระบาทเกินมา ๑ นิ้ว ตำนานเรื่องนี้ไม่มีข้อพิสูจน์ แต่ถ้าเกิดจากความบังเอิญนับว่าเป็นความบังเอิญที่ประจวบเหมาะกันมากเพราะวัดเขายี่สารอยู่ในพื้นที่ จังหวัดสมุทรสงครามซึ่งอยู่ติดกับจังหวัดเพชรบุรี ทั้ง ๒ วัดห่างกันประมาณ ๒๘.๕ กิโลเมตร โดยมีอำเภอบ้านแหลมคั่นอยู่ ![]() พระจุฬามณีเจดีย์ เป็นเจดีย์ที่อยู่บนสวรรค์ ปัจจุบันมีการสร้างพระจุฬามณีเจดีย์ให้ปรากฏเห็นหลายแห่ง เช่นที่นครสวรรค์ วัดคีรีวงศ์ พระจุฬามณีเจดีย์อยู่ที่ด้านหน้าพระอุโบสถภายในระเบียงคด ซึ่งตรงกับประตูทางเข้า-ออก จึงทำให้ประตูนี้ต้องปิดไว้ตลอด ![]() หน้าบันซุ้มประตูหน้า เฉพาะซุ้มประตูด้านหน้าทิศตะวันออกทั้งด้านนอกและด้านในมีลวดลายที่แตกต่างจากซุ้มอื่นๆ ภาพซ้ายเป็นหน้าบันของพระอุโบสถรูปครุฑ ภาพขวาหน้าบันของซุ้มประตูด้านทิศตะวันออกซึ่งต้อง เข้ามาในพระอุโบสถและมองลอดหน้าต่างออกไปจึงจะเห็น ส่วนหน้าบันซุ้มประตูด้านนอกภาพลวดลายไม้ ได้หลุดหายไป หรืออาจจะถูกเก็บรักษาไว้เพื่อนำมาบูรณะติดเข้าไปใหม่คงเหลือแต่ลายก้านขดมองดู ชิ้นส่วนที่เหลืออยู่มีลักษณะคล้ายจะเป็นหิ้งพระและเป็นไปได้ว่าจะเป็นลายไม้แกะสลักพระพุทธรูปที่หลุดออกไป ![]() พระประธานวัดใหญ่สุวรรณาราม พระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย พุทธลักษณะสมส่วนสวยงาม มีฐานพระตกแต่งลวดลายปูนปั้นและปิดทองประดับ กระจกสีสวยงามมาก เด่นตระหง่านอยู่ตรงกลางโดยมีพระพุทธรูปที่งดงามอีกหลายองค์ประดิษฐานบนฐานชั้นล่าง ![]() ![]() ปรางค์และเจดีย์ด้านหน้า ก่อนที่จะเข้าประตูระเบียงคดเดินอ้อมไปทางด้านหน้าทิศตะวันออก จะเห็นปรางค์ที่รายล้อมด้วยสถูปเจดีย์ มากมายอยู่บริเวณนอกทางเดินรอบพระอุโบสถ เป็นลักษณะการสร้างแบบย่อมุมไม้สิบสอง และมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง ![]() ที่ตั้ง อยู่ที่ถนนพงษ์สุริยา อำเภอเมือง จ.เพชรบุรี ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 1 กิโลเมตร ข้อมูลเพิ่มเติม:ตำบลท่าราบ อำเภอเมืองเพชรบุรี เพชรบุรี 76000 โทรศัพท์ 032412714
แชร์ประสบการของคุณกับการท่องเที่ยวในอำเภอหัวหิน ↑ กลับไปที่ด้านบน↑
|